Cataract in Fuchs’ dystrophy

Updated 2015-12-08 16:02:00



แนวทางในการตัดสินใจ

1.       กรณีที่สามารถทำต้อกระจกก่อนได้ คือ

-          ความหนาของกระจกตาน้อยกว่า 650 µm

-           กระจกตาใสพอที่จะมองเห็นม่านตาชัด

-           และจำนวน endothelial cell มากกว่า 1,000 cells/mm2

2.       โดยไม่ใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตัดสินใจขึ้นกับประสบการณ์ของแพทย์ผู้ผ่าตัด ความรุนแรงของกระจกตาที่บวม และระดับความแข็งของต้อกระจก นอกจากนี้ควรคุยเรื่องความเสี่ยงในการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาหลังผ่าตัดต้อกระจกกับผู้ป่วยไว้ก่อน

ขั้นตอนการผ่าตัด

1.       ECCE (extracapsular cataract extraction) หรือ PE (phacoemulsification) พบว่าทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกันในแง่ระดับการมองเห็นหลังผ่าตัด และจำนวน endothelial cell แต่ PE มีแนวโน้มจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียเซลมากกว่า ECCE ในต้อกระจกที่แข็ง

2.       เทคนิคการผ่าตัด พบว่าเทคนิคอาจไม่มีผลมากเท่าเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด phaco time และ phaco power

3.       สารหนืด (viscoelastic substance) พบว่าชนิด viscoadaptive และ dispersive นั้นช่วยป้องกัน endothelial cell ได้ดีกว่า cohesive นอกจากนี้การทำเทคนิค soft shell ยังช่วยป้องกันได้ดีขึ้นกว่าใช้ cohesive อย่างเดียว

4.       การวางหัว PE แบบ bevel-down พบว่ามีแนวโน้มที่จะมีผลเสียต่อ endothelial cell น้อยกว่า bevel-up

โดยสรุปแล้วการตัดสินใจผ่าตัดต้อกระจกในคนไข้ Fuchs’ dystrophy นั้นขึ้นกับหลายปัจจัย แต่สิ่งสำคัญคือการคุยถึงความเสี่ยงในการต้องผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตากับผู้ป่วยไว้ก่อน นอกจากนี้การผ่าตัดต้อกระจกควรทำตั้งแต่ต้อกระจกยังแข็งไม่มากเพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียเซลจากพลังงานที่ใช้ในการทำ phacoemulsification

พญ.อรสิริ  ธนธานี ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น